หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตบางเขน คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

     ภาษาไทย     หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
     ภาษาอังกฤษ Master of Science Program in Community Psychology

ปรัชญา

เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยผ่านกระบวนการวิจัย การให้คำปรึกษา การถ่ายทอดความรู้ และกระบวนการให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความสมดุล ยั่งยืน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เกิดความผาสุก และความมั่นคงของชุมชน

ความสำคัญ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรอย่างมาก ทั้งในระดับสถาบันครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาคนที่มีความรู้และความเข้มแข็งของศาสตร์ทางจิตวิทยาชุมชน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคน และสังคมอันเป็นกลไกสำคัญในการนำประเทศไปสู่ความผาสุกและมั่นคง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ผลิตมหาบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย และทักษะในการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาชุมชน
  2. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านการวิจัย สามารถประยุกต์องค์ความรู้จากการวิจัยไปพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
  3. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีศักยภาพในการจัดโครงการเพื่อพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคม


นิสิตที่ศึกษาปริญญาโทจิตวิทยาชุมชน

ภาคปกติ   เป็นการเรียนในเวลาราชการ จึงมักเป็นนิสิตที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และศึกษาต่อปริญญาโทเลย หรือผู้ที่ลาศึกษาต่อในแต่ละปีจะรับ 10-15 คน

ภาคพิเศษ เป็นการเรียนนอกเวลาราชการคือเรียนช่วงเย็นและเสาร์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานแล้ว มาจากหลายภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน ครู ทหาร ตำรวจ พนักงานบริษัท อาจารย์

พยาบาล หรือผู้ปฏิบ้ติงานด้านสุขภาพ ด้านวิชาการ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านมวลชนสัมพันธ์ ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายในบรรรยากาศ การเรียนการสอน และเกิดเครือข่ายทางวิชาการด้านจิตวิทยาชุมชนต่อไป ในแต่ละปีจะรับ 30-40 คน 


แผนการศึกษา

  • แผน ก แบบ ก1 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  • แผน ข ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต


อาชีพที่สามารถประกอบได้ภายหลังสำเร็จการศึกษา

  • นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาชุมชน นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์
  • อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • นักวิจัย หรือนักวิชาการในสถาบันการศึกษา หน่วยงานด้านสาธารณสุข
  • นักฝึกอบรม
  • นักมวลชนสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์
  • นักบริหารจัดการ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
  • นักวิเคราะห์และวางแผนโครงการ และกิจกรรมเพื่อการพัฒนา
  • นักพัฒนาชุมชน
  • นอกจากนั้นยังสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน