หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตบางเขน คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
ภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy Program in Community Psychology
ปรัชญา
ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถปฏิบัติงานทางจิตวิทยาชุมชนเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน
ความสำคัญ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี Soft Skills มากขึ้น เพื่อสามารถเผชิญโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีความท้าทายกับปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลง และปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรอย่างมาก ทั้งในระดับสถาบันครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และความเข้มแข็งของศาสตร์ทางจิตวิทยาชุมชน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมอันเป็นกลไกสำคัญในการนำประเทศไปสู่ความผาสุกและมั่นคง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาชุมชนเพื่อใช้ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ส่งเสริมสุขภาพจิต และพัฒนาคุณภาพชีวิต
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านจิตวิทยาชุมชนเพื่อตอบสนองต่อปัญหาที่ซับซ้อนในชุมชน
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาบุคคลและชุมชน
นิสิตที่ศึกษาปริญญาเอกจิตวิทยาชุมชน
ภาคปกติ เป็นการเรียนในเวลาราชการ จึงมักเป็นนิสิตที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโท และศึกษาต่อปริญญาเอกเลย หรือผู้ที่ลาศึกษาต่อในแต่ละปีจะรับ 10 คน
แผนการศึกษา
- แบบ 1.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้ภายหลังสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ นักวิจัย หรือนักวิชาการในสถาบันการศึกษาทางด้านจิตวิทยาชุมชนและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในองค์กรภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระ
- ผู้บริหารในหน่วยงานทางด้าน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มวลชนสัมพันธ์ การพัฒนาชุมชน และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการความรู้และความชำนาญด้านจิตวิทยาระดับสูง
- ประกอบอาชีพด้านจิตวิทยาและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการความรู้และความชำนาญด้านจิตวิทยาระดับสูง เช่น นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาในชุมชน นักฝึกอบรม นักจัดกิจกรรมในชุมชน นักจัดการความขัดแย้งในชุมชน เป็นต้น