หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้อมูลรายวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต แผนการสอน
01474697 สัมมนา (Seminar)
การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางจิตวิทยาชุมชนในระดับปริญญาเอก
1,1,1,1
01474691 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางจิตวิทยาชุมชน (Advanced Research Methods in Community Psychology)
การวิจัยขั้นสูงทางจิตวิทยาชุมชน การจัดทำโครงร่างการวิจัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล และการสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ผล การเรียบเรียงและเขียนบทความทางวิชาการและการนำเสนอ การอภิปรายผลงานวิจัย การจัดทำรายงานเพื่อการนำเสนอในการประชุมและการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
3(3-0-6)
01474699 วิทยานิพนธ์ (Thesis)
วิจัยในระดับปริญญาเอกและเรียบเรียงเขียนเป็นวิทยานิพนธ์
1-48
01474611 แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาชุมชนขั้นสูง (Advanced Concept and Theory of Community Psychology)
หลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาชุมชนขั้นสูง โครงสร้างและหน้าที่ของชุมชนทางจิตวิทยาชุมชน วิธีการ การแทรกแซง และเทคนิคทางจิตวิทยาชุมชน บทบาทและการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีในการปฏิบัติงานและการวิจัยทางจิตวิทยาชุมชน
3(3-0-6)
01474612 จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชน (Positive Psychology in Community)
แนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวก การพัฒนาลักษณะส่วนบุคคลเชิงบวก ความสุข อารมณ์เชิงบวก การมีสติ การมองโลกด้านบวก กรอบความคิดเติบโต ความมุ่งมั่น ความยืดหยุ่น การพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรัก การอภัย การรู้สึกขอบคุณ ความเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อ การประยุกต์และแทรกแซงด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในชุมชน
3(3-0-6)
01474621 การพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาชุมชน (Development of Measurement Tools in Community Psychology)
หลักการ แนวคิด และประวัติความเป็นมาของการวัดและทดสอบทางจิตวิทยา ประเภท และวิธีการของเครื่องมือวัดทางจิตวิทยา การกำหนดจุดมุ่งหมาย ขอบเขต และรายละเอียดของเครื่องมือวัดทางจิตวิทยา การออกแบบและการพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตวิทยา การประเมินและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดทางจิตวิทยา การนำเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาไปใช้ในงานทางจิตวิทยาชุมชนและการวิจัย
3(3-0-6)
01474622 จิตวิทยาการป้องกันและการแทรกแซงในชุมชน (Psychology of Prevention and Intervention in Community)
แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาการป้องกัน ปัจจัยปกป้องและปัจจัยเสี่ยง การส่งเสริมจุดแข็งและสร้างพฤติกรรมเชิงบวก ความยุติธรรมทางสังคมและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การออกแบบ การดำเนินการ และการประเมินผลการแทรกแซงเพื่อการป้องกัน การประยุกต์ใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับสร้างการแทรกแซงเพื่อการป้องกัน
3(3-0-6)
01474623 จิตวิทยาการให้คำปรึกษาขั้นสูงในชุมชน (Advanced Counseling Psychology in Community)
การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา การประยุกต์ทฤษฎีเพื่อการช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการในชุมชน นวัตกรรมและงานวิจัยทางการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต บูรณาการทฤษฎีการให้คำปรึกษาในการสร้างโมเดลการให้คำปรึกษา การอบรมถ่ายทอดทักษะการให้คำปรึกษา การประเมินและให้คำแนะนำการให้คำปรึกษาในชุมชน
3(3-0-6)
01474629 การปฏิบัติงานจิตวิทยาชุมชนขั้นสูง (Advanced Community Psychology Internship)
การปฏิบัติงานในชุมชน หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน การวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงาน การประยุกต์แนวคิดทฤษฎีเพื่อการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน
3
01474631 จิตวิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนอย่างยั่งยืน (Psychology for Development of Quality of Life and Sustainable Community)
แนวคิด และทฤษฎีทางจิตวิทยาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและชุมชนยั่งยืน การแทรกแซง เทคนิค และการประเมินผลกระทบของการพัฒนาชุมชนต่อคุณภาพชีวิตและความผาสุก การศึกษาดูงาน
3(3-0-6)
01474632 จิตวิทยาภาวะผู้นำกับการพัฒนาในชุมชน (Psychology of Leadership and Development in Community)
แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาภาวะผู้นำ นวัตกรรมกับภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำกับการเรียนรู้ในชุมชน ภาวะผู้นำกับความหลากหลายในสังคม ภาวะผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำในวิกฤต ภาวะผู้นำกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3(3-0-6)
01474633 จิตวิทยาเพื่อการจัดการความรู้และนวัตกรรมในชุมชนขั้นสูง (Advanced Psychology for Knowledge Management and Innovation in Community)
แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาเพื่อจัดการความรู้และนวัตกรรมในชุมชน การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคมจิตวิทยา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน รูปแบบและแนวทางการจัดการความรู้ภูมิปัญญาในชุมชน หลักจิตวิทยาในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมในชุมชน การออกแบบและการจัดการศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน การถ่ายทอดภูมิปัญญาและนวัตกรรมในชุมชน การเสริมสร้างพลังอำนาจและการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้และการสร้างสรรค์นวัตกรรมในชุมชน กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
3(3-0-6)
01474634 จิตวิทยาการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Psychology of Lifelong Learning)
ทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้แต่ละช่วงวัย ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ การเสริมสร้างพลังอำนาจในการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ในชุมชนโดยเน้นการศึกษานอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต เทคนิคการเรียนรู้ตลอดชีวิต รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามอัธยาศัย เครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การประยุกต์ใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาและการพัฒนาชุมชน การจัดสภาพแวดล้อมและสวัสดิการที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้แต่ละช่วงวัย
3(3-0-6)
01474635 จิตวิทยาสันติภาพและความขัดแย้งขั้นสูง (Advanced Psychology of Peace and Conflict)
การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี การจัดการฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและทักษะการสร้างและรักษาสันติภาพ การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาเพื่อพัฒนาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุลักษณ์ การสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติบนความเห็นต่าง กลยุทธ์การสร้างสันติภาพและรักษาสันติภาพอย่างยั่งยืน การออกแบบรูปแบบชุมชนสันติภาพ การอภิปรายประเด็นสถานการณ์ปัจจุบัน
3(3-0-6)
01474681 จิตวิทยาความผาสุกของผู้สูงอายุ (Psychology of Well-Being of Aging)
แนวคิดและทฤษฎีการสูงวัย สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์และความท้าทาย การเตรียมความพร้อมการเกษียณ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและการดูแลตนเอง พุทธิปัญญาและภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ความผาสุกทางจิตใจและอารมณ์ การทำงานและกิจกรรมของผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุและการสนับสนุนในชุมชน นโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การประยุกต์และแทรกแซงเพื่อส่งเสริมความผาสุกผู้สูงอายุ กรณีศึกษา
3(3-0-6)
01474692 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางจิตวิทยาชุมชน II (Advanced Research Methods in Community Psychology II)
การวิจัยขั้นสูงทางจิตวิทยาชุมชนครอบคลุมระดับบุคคล ชุมชนและบริบททางนิเวศวิทยา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยแบบผสมผสาน การเลือกการเทคนิควิเคราะห์สถิติขั้นสูง การวิเคราะห์อภิมาน การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ และการวิเคราะห์พหุระดับ
3(3-0-6)
01474693 สถิติขั้นสูงทางจิตวิทยาชุมชน (Advanced Statistics in Community Psychology)
แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์พหุตัวแปร การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์กลุ่ม การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุหลายตัวแปร การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหลายตัวแปร การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก แนวคิดเกี่ยวกับโมเดลสมการโครงสร้าง การวิเคราะห์เส้นทาง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง การวิเคราะห์หลายระดับ
3(3-0-6)
01474694 การวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูงทางจิตวิทยาชุมชน (Advanced Qualitative Research Methods in Community Psychology)
ปรัชญาของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูง รูปแบบของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประโยชน์และข้อจำกัดของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล ประเด็นพิจารณาทางจริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การประยุกต์ใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพในงานจิตวิทยาชุมชน
3(3-0-6)
01474696 เรื่องเฉพาะทางจิตวิทยาชุมชน (Selected Topics in Community Psychology)
เรื่องเฉพาะทางจิตวิทยาชุมชนในระดับปริญญาเอก หัวข้อเรื่องเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาคการศึกษา
1-3
01474698 ปัญหาพิเศษ (Special Problems)
การศึกษาและค้นคว้าหัวข้อทางจิตวิทยาชุมชนระดับปริญญาเอก และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
1-3
01474699 วิทยานิพนธ์
(Thesis)
1-36
เงื่อนไขเพิ่มเติม แบบ 2.2 01474511 จิตวิทยาประยุกต์ในชุมชน (Applied Psychology in Community)
(สำหรับนิสิตที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยาไม่เพียงพอ หรือสำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขา ) พฤติกรรมมนุษย์ในบริบททางชีววิทยา จิตวิทยา และสังคม การประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในชุมชน
3(3-0-6)
เงื่อนไขเพิ่มเติม แบบ 2.2 01474512 สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยทางจิตวิทยา (Applied Statistics for Psychological Research)
(สำหรับนิสิตที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยาไม่เพียงพอ หรือสำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขา) นิยาม และการวัดทางสถิติ ความสัมพันธ์ของสถิติกับการวิจัย สถิติประยุกต์ในการวิจัยทางจิตวิทยา วิธีการชักตัวอย่าง วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบเครื่องมือวิจัย การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิจัย เทคนิคทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบสมมติฐาน และการประยุกต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3(3-0-6)
เงื่อนไขเพิ่มเติม แบบ 2.2 01474531 จิตวิทยาชุมชนขั้นสูง (Advanced Community Psychology)
(สำหรับนิสิตที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยาไม่เพียงพอ หรือสำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขา) ประวัติความเป็นมา จุดมุ่งหมาย บทบาท หน้าที่ และจรรยาบรรณของนักจิตวิทยาชุมชน แนวโน้มของจิตวิทยาชุมชนในศตวรรษที่ 21 แนวคิดในการเสริมสร้างพลังอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน รูปแบบทางจิตวิทยาชุมชน ยุติธรรมชุมชน และการแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน การป้องกัน การแทรกแซงและการประเมินผลโครงการ การสนับสนุนทางสังคม และกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเอง
3(3-0-6)
- *รายวิชาอื่นๆ ที่ไม่ใช่รหัสวิชาของหลักสูตร ที่ปรากฎในโครงสร้างหลักสูตร*
-
-